ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

H1N1

ควรรู้เกี่ยวกับ  H1N1
1 .หยุดไปทำงาน หยุดไปโรงเรียน พร้อมแจ้งที่ทำงานและโรงเรียนให้ทราบ เพื่อคนอื่นๆจะได้เฝ้าสังเกตอาการว่าจะป่วยหรือไม่


2. ถ้าอาการมาก เช่นไข้สูง เจ็บคอ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ ฯลฯ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าจะให้กินยาฆ่าเชื้อไวรัส จะได้ผลในการักษาดีมาก ถ้าได้รับยาภายใน 48 ชั่วโมงหลังการป่วย

3. กินยาลดไข้เฉพาะยา พาราเซตตามอลเท่านั้น ยาลดไข้สูงอย่างอื่นอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้

4. ดื่มน้ำและอาหารเหลวมากๆ( แทนการกินอาหารอื่นไม่ลง) เช่น น้ำส้มคั้น นม น้ำเกลือแร่ น้ำข้าวต้มใส่เกลือ โจ๊ก

5 ถ้ามีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ครบ หรืออาการมากกว่า 3 อย่างดังกล่าวจึงควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อช่วยลดภาระโรงพยาบาล และจะได้ไม่เสี่ยงไปรับเชื้อไข้หวัดใหญ่จากผู้ป่วยอื่นๆ ถ้าอาการไม่ครบ ก็แสดงว่าอาจจะเป็นไข้หวัดธรรมดาๆการป้องกันไม่ให้ป่วย





การปฏิบัติตัวไม่ให้ป่วย

1. อย่าเข้าใกล้ผู้ป่วย หรือเข้าไปยังที่ๆมีผู้คนหนาแน่น โดยไม่จำเป็น

2. ใช้กระดาษทิชชุปิดปากปิดจมูกเวลาไอหรือจาม และทิ้งกระดาษในถังขยะที่ปิดมิดชิด

3. ดุแลสุขอนามัยส่วนบุคคล อย่าแคะจมูก ขยี้ตา หรือ อมมือ(เด็ก) และ ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
4. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง กินอาการครบ 5 หมู่วิตามินเอ และซี ในผักและผลไม้ จะช่วยป้องกันและต่อสู้เชื้อไวรัส ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทดี แสงแดดส่องถึง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ





.ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้นานเท่าไร
 ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อโรคแล้วจะเป็นไข้หวัดใหญ่มีระยะเวลา ประมาณ 1-3 วัน จึงจะเริ่มมีอาการป่วย ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการป่วย ไปจนถึง 7 วันหลังจากเริ่มมีอาการ โดยเด็กเล็กๆอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้นานกว่านั้น ฉะนั้นถ้าจะปิดโรงเรียนเพื่อจะหยุดการระบาด ต้องปิดโรงเรียนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เด็กเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กชอบเล่นใกล้ชิดกัน และไม่สามารถระมัดระวังสุขอนามัยส่วนตัวได้ดี บุคลากรทางการแพทย์ มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้มาก เพราะต้องอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมาก และตรากตรำทำงานมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะนี้



ต้องรู้ว่าไข้หวัดใหญ่ระบาดได้อย่างไร จะได้ป้องกันได้

1.จากการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เชื้อไวรัสนี้จะแพร่กระจายจากผู้ป่วย โดยออกมากับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จากการไอ จาม พูด .หัวเราะ แล้วเราหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จากผู้ป่วย เข้าไป หรือ ละอองของสิ่งเหล่านี้ แห้ง กลายเป็นละอองเล็กๆ ปนกับฝุ่นอยู่ในอากาศ แล้วเราหายใจเข้าไป

2. เวลาผู้ป่วยไอ จาม อาจมีละอองเหล่านี้ลอยไปติดโต๊ะ เก้าอี้ หรือผู้ป่วยเอามือเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย ไปจับสิ่งของ แล้วเรา เอามือไปจับสิ่งต่างๆ ที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย เสมหะที่มีเชื้อโรค แล้วเอามือไปล้วงแคะจมูก เอาเข้าปาก หรือขยี้ตา เราก็จะติดเชื้อได้ เชื้อโรคจะอยู่ในอากาศ หรือพื้นผิวของสิ่งต่างๆได้นานประมาณ 2-8 ชั่วโมง



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การผ่าตัดปะแก้วหู

การผ่าตัดปะแก้วหู ผู้ป่วยที่มีแก้วหูทะลุ และมีหูชั้นกลางอักเสบแบบเรื้อรัง อาจมีหนองไหลจากหูเป็นระยะ ๆ เมื่อน้ำเข้าหุหรือเมื่อเป็นหวัด การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูนั้นนจุดประสงค์เพื่อป้งกันการติดเชื้อ ของหูชั้นกลาง เพราะเมื่อมีการติดเชื้อบ่อยๆจะทำให้มีหินปูน หรือผังผืดยึดกระดูกหู ทำให้หูอื้อหรือการได้ยินน้อยลง การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูนั้นเป็นการผ่าตัดผ่านหลังหูหรือผ่านช่องหูโดยการดมยาสลบหรือยาชาเฉพาะที่ หลังผ่าตัด จะมีแผลเป็นที่หลังหูในกรณีที่ผ่าตัดผ่านหลังหูมีผ้าพันไว้รอบศีรษะ เพื่อป้องกันเลือดออกที่แผลหลังผ่าตัด

ฮอตไลน์ไทยประกันเคลื่อนย้ายโดยเครื่องบิน

ฮอตไลน์ไทยประกันชีวิต ฮอตไลน์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยเครื่องบินพาณิชย์เช่าเหมาลำที่สนามบินชุมพร ทีมงาน ผจก.ศูนย์ กนกพร ชนมนัส ผู้บริหารฝ่าย วิจิตร ชูลิิตรัตน์ สนับสนุนข้อมูล โดยผู้จัดการฝ่ายขยายงาน จักรกฤช แตงฮ่อ ไทยประกันชีวิตสาขาชุมพร