ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตราสารหนี้คืออะไร

ตราสารหนี้คืออะไร


ตราสารหนี้เป็นตราสารการเงิน ที่เป็นสัญญาแสดงความเป็นหนี้ระหว่างผู้ออก (Issuer) และผู้ถือตราสารหนี้ หรือที่เรียกว่าผู้ลงทุน ตราสารหนี้ต้องมีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดเป็นจำนวนที่แน่นอน โดยระบุวันที่ชำระดอกเบี้ยและ   เงินต้นล่วงหน้า ตั้งแต่เมื่อออกตราสารนั้น และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดอายุ หรือวันไถ่ถอน สามารถซื้อขายโอนเปลี่ยนมือกันได้

ผู้ออกตราสารหนี้คือผู้กู้เงินจากผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ ผู้ออกคือลูกหนี้และผู้ซื้อ คือผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้นั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากตราสารทุนหรือหุ้นสามัญ ที่ผู้ถือตราสารทุนนั้น     ลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ไม่ใช่เจ้าหนี้

ตราสารหนี้ เป็นศัพท์กว้างๆ แต่ที่คุ้นเคยมาก คือ “พันธบัตร” และ “หุ้นกู้” โดยพันธบัตร มักใช้เรียกตราสารหนี้ ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ และมักเรียกว่าหุ้นกู้เมื่อออกโดยบริษัทเอกชน แต่ในต่างประเทศใช้คำว่า “Bond” สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยรัฐและเอกชน มีในบางกรณีที่เรียกว่า “Debenture” เมื่อตราสารหนี้นั้นไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันองค์ประกอบและประเภทของตราสารหนี้

องค์ประกอบที่สำคัญของตราสารหนี้

1. ผู้ออกตราสารหนี้ คือ บริษัท รัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ที่เป็นผู้กู้นั่นเอง

2. ประเภทของตราสารหนี้ ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ จะมีความหลากหลายมากกว่าตราสารหนี้ ที่เป็นของภาครัฐ

3. อายุตราสารหนี้ คือ กำหนดอายุแน่นอนของหุ้นกู้ โดยระบุวันเริ่มต้นคือวันที่ออก และวันครบกำหนดไถ่ถอนของหุ้นกู้ไว้อย่างชัดเจน

4. วันออกตราสารหนี้ (Issue date) คือ วันเริ่มต้นของการออกตราสารหนี้

5. วันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity date) คือ วันครบกำหนดไถ่ถอนหรือวันหมดอายุ ที่ผู้ออกหุ้นกู้ต้องจ่ายชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่คงเหลือทั้งสิ้นคืนแก่ผู้ถือหุ้นกู้

6. มูลค่าที่ตราไว้หรือราคาพาร์ต่อหนึ่งหน่วยหุ้นกู้ เป็นคุณสมบัติของหุ้นกู้ ที่สามารถแยกเป็นหน่วยย่อยๆได้ เพื่อให้สามารถซื้อขายในตลาดรองส่วนใหญ่ราคาพาร์จะเริ่มต้นที่ 1,000 บาทต่อหน่วย และคงที่จนครบอายุของหุ้นกู้นั้นๆ แต่ในกรณีที่เป็นหุ้นกู้ ประเภททยอยจ่ายชำระคืนเงินต้น ราคาพาร์นี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนเงินที่ทยอยคืนดังกล่าว

7. อัตราดอกเบี้ย (Coupon rate) คือ อัตราผลตอบแทนที่ต้องกำหนดตั้งแต่วันที่ออกหุ้นกู้นั้น อาจเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว การจ่ายดอกเบี้ยกระทำเป็นงวดๆ และกำหนดวันจ่ายดอกเบี้ย เป็นวันที่ล่วงหน้าตรงกันทุกปี เช่น จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ทุก 6 เดือน ณ วันที่เท่าไรของปีนั้นๆ

8. งวดการจ่ายดอกเบี้ย (Payment frequency) ต่อปี คือ จำนวนครั้งของการจ่ายดอกเบี้ย ในรอบปี เช่น 2 ครั้งต่อปีหมายถึงการจ่ายดอกเบี้ยทุกรอบ 6 เดือน         (Semi-annually) หรือ 4 ครั้งต่อปี หมายถึงการจ่ายดอกเบี้ยทุกรอบ 3 เดือน (Quarterly)

9. อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ (Issue rating) คือ อันดับเครดิต ที่สถาบัน   จัดอันดับความน่าเชื่อถือประกาศเพื่อสะท้อนความสามารถ ของการชำระหนี้ ของตราสารหนี้นั้นๆ อันดับเครดิตสูง จะสะท้อนถึงความเสี่ยง ของการไม่ได้รับชำระหนี้ตามกำหนด น้อยกว่าตราสารหนี้ที่มีอันดับเครดิตต่ำกว่า ดังนั้น ตราสารหนี้ที่มีอันดับเครดิตต่ำ จึงต้องเสนออัตราดอกเบี้ย หรืออัตราผลตอบแทน ที่สูงกว่าตราสารหนี้ ที่มีอันดับเครดิตที่สูงกว่า เพื่อชดเชยความเสี่ยง จากการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงกว่า

ประเภทของตราสารหนี้ ตราสารหนี้สามารถแบ่งแยกได้หลายประเภท

ตราสารหนี้ที่แบ่งตามลักษณะของผู้ออก

1. ตราสารหนี้ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ ตัวอย่างคือ

a. ตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาล ออกโดยกระทรวงการคลัง ซึ่ง มีการออกจำหน่ายหลากหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ของการออก เช่น พันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond), พันธบัตรเพื่อการลงทุน (Investment Bond) และ พันธบัตรเพื่อชดเชยการ  ขาดดุลงบประมาณ (Loan Bond)

b. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT bond)

c. พันธบัตรเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF bond)

2. ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, พันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น

3. ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทภาคเอกชน คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หรือบริษัทไม่จดทะเบียน

ตราสารหนี้ยังสามารถแบ่งตามประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. ตราสารหนี้ที่ชำระคืนเงินต้นครั้งเดียวเมื่อครบกำหนด (Straight bond) ในปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลทุกประเภท และหุ้นกู้ส่วนใหญ่มีลักษณะเช่นนี้ คือ จ่ายชำระคืนตาม   ราคาพาร์ต่อหน่วยในวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน

2. ตราสารหนี้ที่ทยอยชำระคืนเงินต้น (Amortizing bond) ในปัจจุบันมีเฉพาะหุ้นกู้  ภาคเอกชนที่มีลักษณะเช่นนี้ กล่าวคือ ผู้ออกจะกำหนดจำนวนเงินต้นที่จะทยอยจ่ายคืนเป็นงวดๆและในวันที่เท่าไรให้กับผู้ถือหุ้นกู้ ดังนั้น เมื่อถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน มูลค่าพาร์ต่อหน่วยจะลดลงเท่ากับเงินต้นที่ได้ทยอยจ่ายคืนมาแล้ว

3. ตราสารหนี้ชนิดแปลงสภาพ (Convertible bond) คือ ตราสารหนี้ที่สามารถแปลงสภาพจากหนี้ ให้เป็นทุนหรือหุ้นได้ โดยอาจกำหนดเป็นเงื่อนไขตายตัว ที่จะต้องแปลงจากหนี้ไปเป็นหุ้น หรือจะกำหนดเป็นสิทธิที่ผู้ถือตราสารหนี้นั้น สามารถตัดสินใจเลือกเองได้ ตัวอย่าง หุ้นกู้ A อายุ 5 ปี มีเงื่อนไขที่ผู้ถือหุ้นกู้ สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ A ได้ทุกๆ 6 เดือนที่ราคาหุ้นละ 10 บาท และเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือหุ้นกู้ทุกราย ต้องแปลงเป็นหุ้นสามัญที่ราคาดังกล่าว ดังนั้น ในช่วงระหว่างอายุของหุ้นกู้      ผู้ถือหุ้นกู้ อาจใช้สิทธิในการแปลงสภาพหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับราคาหุ้นสามัญที่ซื้อขายในตลาดรอง แต่เมื่อถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือหุ้นกู้ต้องแปลงสภาพหนี้ของตนเป็นหุ้น โดยจะได้รับเงินต้นคืนเป็นหุ้นสามัญ

4. ตราสารหนี้ที่เกิดจากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitized bond) โดยการนำสินทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนมือยาก มาแปลงเป็นหลักทรัพย์เพื่อให้สามารถซื้อขายในตลาดรองได้ง่ายขึ้น เช่น การนำเอาสินเชื่อผ่อนบ้านมาแปลงเป็นหลักทรัพย์โดยออกเป็นตราสารหนี้ (Mortgage-backed securities) เป็นต้น

5. ตราสารหนี้ที่ผู้ออกมีสิทธิเรียกไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนด (Callable bond) คือ      ตราสารหนี้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ออก ในการชำระหนี้คืนก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน ทั้งนี้ จะเรียกชำระคืนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ แต่ต้องกำหนดเป็นเงื่อนไข ตั้งแต่เมื่อออกตราสารหนี้ โดยรายละเอียดในเรื่องจำนวนเงินที่จะเรียกไถ่ถอน และวันเวลาของการดำเนินการต่างๆ ไว้ในหนังสือชี้ชวนด้วย

6. ตราสารหนี้ที่ผู้ถือมีสิทธิขายคืน ให้แก่ผู้ออกก่อนครบกำหนด (Puttable bond) เป็นไปในทางกลับกัน จากประเภทที่ผ่านมาเป็นการให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารหนี้นั้นที่จะขอไถ่ถอนหรือขายคืนให้กับผู้ออก ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน โดยรายละเอียดของกำหนดเวลาและวิธีการต้องระบุไว้ในหนังสือ ชี้ชวนด้วยเช่นกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การผ่าตัดปะแก้วหู

การผ่าตัดปะแก้วหู ผู้ป่วยที่มีแก้วหูทะลุ และมีหูชั้นกลางอักเสบแบบเรื้อรัง อาจมีหนองไหลจากหูเป็นระยะ ๆ เมื่อน้ำเข้าหุหรือเมื่อเป็นหวัด การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูนั้นนจุดประสงค์เพื่อป้งกันการติดเชื้อ ของหูชั้นกลาง เพราะเมื่อมีการติดเชื้อบ่อยๆจะทำให้มีหินปูน หรือผังผืดยึดกระดูกหู ทำให้หูอื้อหรือการได้ยินน้อยลง การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูนั้นเป็นการผ่าตัดผ่านหลังหูหรือผ่านช่องหูโดยการดมยาสลบหรือยาชาเฉพาะที่ หลังผ่าตัด จะมีแผลเป็นที่หลังหูในกรณีที่ผ่าตัดผ่านหลังหูมีผ้าพันไว้รอบศีรษะ เพื่อป้องกันเลือดออกที่แผลหลังผ่าตัด

ฮอตไลน์ไทยประกันเคลื่อนย้ายโดยเครื่องบิน

ฮอตไลน์ไทยประกันชีวิต ฮอตไลน์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยเครื่องบินพาณิชย์เช่าเหมาลำที่สนามบินชุมพร ทีมงาน ผจก.ศูนย์ กนกพร ชนมนัส ผู้บริหารฝ่าย วิจิตร ชูลิิตรัตน์ สนับสนุนข้อมูล โดยผู้จัดการฝ่ายขยายงาน จักรกฤช แตงฮ่อ ไทยประกันชีวิตสาขาชุมพร